http://www.maroomthai.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 Home  Discovery Channel  Products Certificates  Payment  FAQ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/09/2008
ปรับปรุง 07/10/2023
สถิติผู้เข้าชม2,456,798
Page Views3,206,197
Menu
หน้าแรก
สินค้า
การชำระเงิน
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
สินค้าและราคามะรุม
การชำระเงิน
มะรุมของดี...ของไทย
เอกสารรับรองคุณภาพมะรุม
สัมนาและแสดงสินค้ามะรุมน่าสนใจ
มหัศจรรย์ของ "มะรุม "
ประสบการณ์จริงของผู้ใช้มะรุม
คำถามมะรุมที่พบบ่อย
คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม
ประโยชน์ของมะรุม
ประโยชน์ของน้ำมันมะรุม
เอนไซม์มะรุม
ประโยชน์ของชามะรุม
ลูกประคบมะรุม
น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร
Products & Price
  Payment
  FAQ
Distributors Welcome
รู้ทันโรคกับมะรุม
รอบรู้เรื่องมะเร็ง...อื่นๆ
แจกมะรุมฟรี !!!
นานาสาระจากมะรุม
Moringa Research
ตรวจสอบการส่งมะรุม
แผนที่ฝ่ายจัดส่งสินค้ามะรุม
มะรุม:แหล่งอ้างอิงอื่นๆ
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
 

มะรุมกับมะเร็งมดลูก

 

มะรุมแนะป้องกันมะเร็งมดลูก

                                                                     

 

 

มะเร็งมดลูกมี 2 ชนิดคือ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งโพรงมดลูก

1)
ตำแหน่งของมะเร็ง:


มะเร็งที่มดลูกมักจะปรากฏตามบริเวณต่างๆดังนี้:
- บริเวณปากมดลูก ช่วงปลายสุดของช่องคลอด
  โดยจะมีลักษณะเป็นเยื่อเมือกหรือเกาะตามผนังมดลูกชั้นในสุด ในแต่ละปี
  ผู้หญิง 100,000 คนเป็นมะเร็งปากมดลูก 20-25 คน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงจะมีอายุตั้งแต่
  25 ปีเป็นต้นไปและมักเป็นในผู้ที่อยู่
  ในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศในแถบอเมริกาใต้, จีน,
  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา
- บริเวณภายในโพรงมดลูก ซึ่งใน 100,000 คน จะมีผู้หญิงที่เป็นมะเร็งประเภทนี้ 20-25 คนโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
  และแคนาดา ผู้หญิงในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นมะเร็งประเภทนี้มากกว่าผู้หญิงญี่ปุ่นถึง 30
  เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าในบรรดา
  โรคมะเร็งประเภทต่างๆที่เกิดกับเพศหญิง หญิงชาวอเมริกันกว่า 6%
  เป็นมะเร็งประเภทนี้

2) ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ:
ส่วนใหญ่พบมะเร็งมดลูกในผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
แต่ทั้งนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่าก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

ก) มะเร็งปากมดลูก ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการมีสุขอนามัยที่ไม่ดี :
    - การขาดสุขอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่การมีคู่นอนหลายคน
      หรือการที่คู่นอนของตนไปมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
      ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อไวรัส (หูด, เริม)
      พบมะเร็งชนิดนี้น้อยมากในผู้หญิงที่ละทิ้งการมี
      เพศสัมพันธ์เช่น แม่ชี เป็นต้น
    - การใช้ยาสูบต่างๆ เช่นบุหรี่

ข) มะเร็งโพรงมดลูก เกิดได้จาก:
    - การไม่ตั้งครรภ์;
    - ความอ้วน;
    - การใช้ยา Tamoxifen เพื่อรักษามะเร็งเต้านมนั้น เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูก
ในทางกลับกัน การกินยาคุมกำเนิดสามารถลดความเสี่ยงได้แม้จะหยุดกินไปถึง 5 ปี
เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ช่วยปกป้องมดลูก

3) พัฒนาการของโรค:
มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้จากการตรวจ Pap test
ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างเยื่อเมือกจากภายในช่องคลอดเพื่อส่งตรวจ
มะเร็งมดลูกจะพัฒนาจากโพรงมดลูก, ปากมดลูก, ต่อมน้ำเหลือง, กระดูกเชิงกราน
กระเพาะปัสสาวะ, ช่องทวารหนัก และ
อวัยวะส่วนอื่นๆ

4) ลักษณะอาการ:
- ปัสสาวะยาก, เจ็บขณะปัสสาวะ;
- เจ็บบริเวณช่องท้อง;
- มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด:
- อาการของมะเร็งปากมดลูกจะมีเลือดออกผิดปกติที่บริเวณช่องคลอดในระหว่างการมี
  เพศสัมพันธ์หรือในช่วงที่ไม่มี
  ประจำเดือน
- ส่วนมะเร็งโพรงมดลูกจะมีเลือดออกเป็นประจำหลังวัยหมดประจำเดือน

5) การตรวจวินิจฉัยมะเร็งมดลูก:
- สามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear
  จากนั้นตรวจซ้ำด้วยเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ speculoscopy,
  ตรวจชิ้นเนื้อ, ตรวจกระเพาะปัสสาวะด้วยวิธี cystoscopy หรือ urography
ตรวจมะเร็งโพรงมดลูกด้วยวิธี hysterography
  ซึ่งเป็นการตรวจเอ็กซเรย์ภายในโพรงมดลูก, ทำอัลตร้าซาวด์, ส่องกล้อง
  ภายในโพรงมดลูกหรือ hysteroscopy, ตรวจชิ้นเนื้อ
- ควรเพิ่มการตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้มะเร็ง SCC และ Cyfra 21-1

6) การบำบัดรักษามะเร็งมดลูก:
การบำบัดรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อ, ระยะและระดับของการเกิดโรค
โดยแพทย์จะใช้วิธีการต่างๆดังนี้
- ฮอร์โมนบำบัด;
- การผ่าตัดเอามดลูกออก (hysterectomy);
- การฉายรังสี
  แพทย์มักเลือกใช้วิธีรังสีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อให้ก้อนเนื้อมีขนาดหดเล็กลง
  ซึ่งการใช้รังสีนั้นมีทั้ง
  แบบภายนอกคือเล็งลำแสงไปที่บริเวณมะเร็งและแบบภายในซึ่งเป็นการฉีดรังสีเข้าไป
  ในบริเวณช่องคลอด

7) การติดตามผลการรักษา:
ควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อติดตามผลการรักษา
- มะเร็งปากมดลูกมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงถึงเกือบ 100%
  เมื่อตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะแรกๆ หากมะเร็งไม่แพร่กระจาย
  ออกนอกปากมดลูกก็อาจรักษาให้หายได้ 80-85%
  ซึ่งโอกาสในการักษาจะลดลงเมื่อการแพร่กระจายของมะเร็ง      เพิ่มมากขึ้น
- มะเร็งโพรงมดลูก ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดและทำอัลตร้าซาวด์
นอกจากนี้ควรตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้มะเร็ง ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและให้ผลรวดเร็ว

8) การป้องกัน:

     สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่นอน แต่สาเหตุสำคัญเท่าที่วิทยาการทางการแพทย์ตรวจพบได้ในปัจจุบันคือ การติดเชื้อ human papillomavirus หรือ HPV บริเวณปากมดลูก จากการตรวจชิ้นเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 22 ประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 ราย รวมทั้งผู้ป่วยจากประเทศไทยด้วย โดยวิธี polymerase chain reaction (PCR) พบว่าตรวจพบ DNA ของเชื้อ HPV สูงถึงร้อยละ 99.7 จากหลักฐานดังกล่าวนี้ ผนวกกับหลักฐานทางไวรัสวิทยา ทางคลินิก และทางระบาดวิทยา จึงสรุปได้ว่า HPV เป็นสาเหตุจำเพาะของมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เป็นเพียงปัจจัยส่งเสริมหรือปัจจัยร่วมที่ทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย เป็นต้น หรือเป็นปัจจัยที่ทำให้การติดเชื้อ HPV คงอยู่ คืบหน้า หรือดำเนินโรคต่อไปจนเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ และภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้สตรีมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ดังตาราง

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

     ปัจจัยทางฝ่ายหญิง
1. การมีคู่นอนหลายคน
2. การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
3. การตั้งครรภ์หรือมีลูกหลายคน
4. มีประวัติเคยเป็นกามโรค
5. การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
6. ไม่เคยทำ Pap smear มาก่อนเลย

     ปัจจัยทางฝ่ายชาย
1. สตรีที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
2. สตรีที่แต่งงานกับผู้ชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
3. ผู้ชายที่เคยเป็นกามโรค
4. ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
5. ผู้ชายที่มีประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อย

ปัจจัยอื่น ๆ
1. การสูบบุหรี่
2. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อ HIV ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

               เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงได้ ควรตรวจ Pap test เป็นประจำทุกๆ 3 ปีเริ่มตั้งแต่อายุ 20 จนถึงอายุ 55 ปี สำหรับมะเร็งโพรงมดลูก หากมีเลือดออกผิดปกติที่บริเวณช่องคลอดควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดทันที ตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้มะเร็งเป็นประจำทุกปี เพราะหากตรวจพบมะเร็งได้เร็วก็มีโอกาสรักษาได้



โรคมะเร็งตรวจพบได้ เริ่มต้นที่ตัวคุณวันนี้

 
 หน้าแรก สินค้าและราคา มะรุมแคปซูล น้ำมันมะรุม คำถามที่พบบ่อย  บทความ  รวมรูปภาพ
view