http://www.maroomthai.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 Home  Discovery Channel  Products Certificates  Payment  FAQ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/09/2008
ปรับปรุง 07/10/2023
สถิติผู้เข้าชม2,485,824
Page Views3,240,874
Menu
หน้าแรก
สินค้า
การชำระเงิน
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
สินค้าและราคามะรุม
การชำระเงิน
มะรุมของดี...ของไทย
เอกสารรับรองคุณภาพมะรุม
สัมนาและแสดงสินค้ามะรุมน่าสนใจ
มหัศจรรย์ของ "มะรุม "
ประสบการณ์จริงของผู้ใช้มะรุม
คำถามมะรุมที่พบบ่อย
คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม
ประโยชน์ของมะรุม
ประโยชน์ของน้ำมันมะรุม
เอนไซม์มะรุม
ประโยชน์ของชามะรุม
ลูกประคบมะรุม
น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร
Products & Price
  Payment
  FAQ
Distributors Welcome
รู้ทันโรคกับมะรุม
รอบรู้เรื่องมะเร็ง...อื่นๆ
แจกมะรุมฟรี !!!
นานาสาระจากมะรุม
Moringa Research
ตรวจสอบการส่งมะรุม
แผนที่ฝ่ายจัดส่งสินค้ามะรุม
มะรุม:แหล่งอ้างอิงอื่นๆ
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
 

โรค G6-PD

 

โรคเลือด G6-PD

G6-PD ย่อมาจาก Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์
ซึ่งมีส่วนสำคัญในขบวนการใช้พลังงานของเซลล์ และสร้างสารต่าง ๆ ในเซลล์ เช่น ขบวนการ
Heroes Monophosphate Shunt ซึ่งขบวนการนี้จะผลิตสารสำคัญที่มีชื่อย่อว่า NADPH (Nicotinamide Dinucleotide Phosphate) ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญในขบวนการกำจัดสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ออกไป เซลล์ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งขบวนการนี้มาก ได้แก่ เม็ดเลือดแดงเนื่องจากไม่มีนิวเคลียสและ organelles อื่นๆ ที่ทำหน้าที่ทำลายสารพิษต่างๆภายในร่างกาย

โรคขาดเอ็นไซม์ G6-PD (จีซิกพีดี) หรือภาวะพร่องเอ็นไซม์ ( G6PD Deficiency : Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency)หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โรคแพ้ถั่วปากอ้า(Favism) นั้นเป็นโรคทางพันธุกรรมกล่าวคือโรคนี้จะมีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านทางโครโมโซมเอกซ์ (X-linked recessive fashion) ทำให้มีผลกระทบต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้ชายจะเป็นโรคนี้โดยได้รับยีนมาจากมารดาที่เป็นพาหะ พ่อที่เป็นโรค จะถ่ายทอดพาหะให้ลูกสาวทุกคน เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการอะไรนอกจากตัวเหลืองตอนแรกเกิด

การวินิจฉัยโรค G6-PD

ในปัจจุบันนี้เราใช้การตรวจสอบทางพันธุกรรมของยีน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติจนทำให้สร้างเอ็นไซม์นี้ไม่ได้  เพราะเอ็นไซม์นี้มีความสำคัญในการสร้างสาร Glutathioneซึ่งมีหน้าที่ทำลาย oxidizing agents ต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากยา หรือภาวะการติดเชื้อต่าง ๆ ให้หมดฤทธิ์ไป  ความสำคัญของเอ็นไซม์นี้อยู่ที่เม็ดเลือดแดง ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ได้รับ oxidizing agents เช่นยาบางชนิดหรือ การติดเชื้อในร่างกาย จะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถทนทานได้ และเกิดเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันหรือ
เกิดอาการซีดเฉียบพลัน ปัสสาวะดำหรือสีเข้มจากสีของฮีโมโกลบิน และอาจเกิดไตวายได้ สารหรือยาที่ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้บ่อยได้แก่ ยารักษามาเลเรียบางชนิด,
ยาซัลฟา,ยาปฏิชีวนะบางชนิด,ถั่วปากอ้า เป็นต้น

นอกจากนี้การติดเชื้อต่าง ๆ เช่นเป็นไข้หวัด หลอดลมอักเสบก็ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ จึงจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบ และรักษารวมทั้งเลี่ยงยาที่อาจทำให้เกิดอาการได้

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเหล่านี้
ผู้ป่วยจะซีดลงทันทีเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกในหลอดเลือด จะสังเกตเห็นปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโคล่าเนื่องจากฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกกรองออกมากับไต ซึ่งจำเป็นต้องนำส่ง รพ.เพื่อให้การรักษาแบบประคับประคองทันทีอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) เช่นนี้คือภาวะไตวาย เนื่องจากไตขาดเลือดเฉียบพลันเพราะขาดเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนมาหล่อเสี้ยง(เม็ดเลือดแดงแตกหมด) และยังได้รับฮีโมโกลบินปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อไตโดยตรง

การรักษา
เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง เช่น การให้เลือด,การให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอเพื่อป้องกันไตวาย
ส่วนการแตกของเม็ดเลือดแดงจะหยุดได้เอง โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาดในขณะนี้
สิ่งที่ดีที่สุดคือ การให้คำปรึกษาและร่วมวางแผนระหว่างครอบครัวและแพทย์
การหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การให้คำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรค
จะทำให้โอกาสให้กำเนิดบุตรที่เกิดมาเป็นภาระต่อพ่อแม่น้อยลง

การปฏิบัติตัว
1. แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้
2. เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง
3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที
4. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่อาจทำให้เกิดอาการ
5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจาแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังลูกเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนครอบครัว

อาหารต้องห้าม
นอกจากยาแล้วอาหารที่รับประทานก็พบว่ามีผลต่อเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยเช่นกัน นั่นคือ
ถั่วปากอ้า (Fava bean) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถั่วนั้นยังดิบอยู่  คนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ จีซิกพีดี ( G6PD Deficiency) หากต้องการทานมะรุมจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน

 
 หน้าแรก สินค้าและราคา มะรุมแคปซูล น้ำมันมะรุม คำถามที่พบบ่อย  บทความ  รวมรูปภาพ
view