http://www.maroomthai.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 Home  Discovery Channel  Products Certificates  Payment  FAQ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 17/09/2008
ปรับปรุง 07/10/2023
สถิติผู้เข้าชม2,485,781
Page Views3,240,826
Menu
หน้าแรก
สินค้า
การชำระเงิน
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
สมเด็จพระเทพฯทรงเปิดสวนมะรุม
สินค้าและราคามะรุม
การชำระเงิน
มะรุมของดี...ของไทย
เอกสารรับรองคุณภาพมะรุม
สัมนาและแสดงสินค้ามะรุมน่าสนใจ
มหัศจรรย์ของ "มะรุม "
ประสบการณ์จริงของผู้ใช้มะรุม
คำถามมะรุมที่พบบ่อย
คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม
ประโยชน์ของมะรุม
ประโยชน์ของน้ำมันมะรุม
เอนไซม์มะรุม
ประโยชน์ของชามะรุม
ลูกประคบมะรุม
น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร
Products & Price
  Payment
  FAQ
Distributors Welcome
รู้ทันโรคกับมะรุม
รอบรู้เรื่องมะเร็ง...อื่นๆ
แจกมะรุมฟรี !!!
นานาสาระจากมะรุม
Moringa Research
ตรวจสอบการส่งมะรุม
แผนที่ฝ่ายจัดส่งสินค้ามะรุม
มะรุม:แหล่งอ้างอิงอื่นๆ
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
 

มะรุมกับโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์

 

 

      โรคเก๊าท์ เกิดได้ยังไง

       ยูริค คืออะไร

โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นในคนไทย โดยเฉพาะผู้ชาย และค่อนข้างมีอายุหน่อย ทางการแพทย์รู้จักเก๊าท์มานานแล้ว แต่จนปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโรคนี้อยู่มาก ทั้งตัวแพทย์ผู้รักษาเอง และผู้ป่วย นำมาซึ่งความเชื่อผิด ๆ อยู่ให้เห็นในปัจจุบันเก๊าท์ (Gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมียูริคสูงอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน และด้วยคุณสมบัติของยูริคเอง ที่มีการละลายได้จำกัด (ประมาณ 7 มก./ดล.) ทำให้ยูริคส่วนเกินนี้ เกิดการตกตะกอนในร่างกาย ที่พบมากและทำให้เกิดอาการคือ ในข้อต่าง ๆ, ในไต และเมื่อเป็นเรื้อรัง จะเห็นการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เห็นเป็นปุ่มก้อนตามแขนขาได้กรดยูริค (Uric acid) เป็นผลผลิตจากการสลายสารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสาย DNA ในเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้นการสลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มี DNA จะได้กรดยูริค เสมอ

ทำไมเก๊าท์มีแต่ผู้ชาย อายุมาก, ผู้หญิงไม่เป็นโรคนี้หรือ ?

เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลา ที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือด จะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนาน จนกว่าจะเริ่มมีอาการ คืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริค จะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูงพบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่มียูริคสูงมาก่อน การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง จึงไม่มีทางทำให้ระดับยูริคสูงได้ครับ

ปวดข้อแล้วไปเจาะเลือดพบว่ายูริคสูง แสดงว่าเป็นเก๊าท์, ถ้ายูริคไม่สูง ไม่ใช่เก๊าท์ ?

เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายง่าย ๆ ครับ ข้ออักเสบจากเก๊าท์วินิจฉัยได้ง่าย เพราะผู้ป่วยจะมีอาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" ที่ข้อชัดเจน เป็นเร็ว และมักเป็นข้อเดียว ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า ถ้าผู้ป่วยปวดข้อ แต่สงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์ ครับ   รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบ ๆ ข้อ เช่น ข้อเท้า, ส้นเท้า, ข้อมือ, นิ้วมือ ได้ ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา
การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้ครับ ดังนั้นผู้ที่มีข้ออักเสบเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะนั้นและไม่ช่วยในการวินิจฉัยครับ ดังนั้น..

  • ถ้าอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน ถ้าเป็นที่ข้อบริเวณเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่ เก๊าท์
  • ถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นเก๊าท์ ครับ

เก๊าท์ รักษาได้หายขาด จริงหรือ ? ต้องทำยังไง ?

จริงครับ ถ้าเรายอมรับว่า ผู้ป่วยที่รักษาแล้ว ไม่มีอาการปวดข้ออีกเลยตลอดชีวิต เรียกว่าหายผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็น 2 ระยะ ในความดูแลของแพทย์ ได้แก่

  • การรักษาในระยะเฉียบพลัน คือ ข้ออักเสบ โดยใช้ยาลดการอักเสบที่นิยมได้แก่ ยา โคลชิซิน (Colchicine) กินวันละไม่เกิน 3 เม็ด (เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ) จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน อาจทำให้ข้ออักเสบหายเร็วขึ้น ถ้าใช้ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์   บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งไม่แนะนำ เพราะผู้ที่กินยานี้ จะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
  • การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยา อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง   ซึ่งยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง

ข้อคำนึงในการรักษาได้แก่

  • ยาลดกรดยูริคมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ จึงสงวนไว้ใช้ในผู้ป่วยเก๊าท์เท่านั้น ผู้ที่ตรวจเลือดแล้วพบว่า ยูริคสูง โดยไม่มีอาการปวดข้อแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องกินยานี้ เพราะผู้ที่ยูริคสูงไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกคน การกินยาทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็น
  • เมื่อมีอาการปวดข้อเกิดขึ้น อย่านวด เพราะการนวด หรือใช้ยาทาถู ทำให้อาการข้ออักเสบ เป็นนานขึ้น หายช้า
  • ในผู้ที่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์ เป็นครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องเริ่มยาลดยูริคตั้งแต่แรก เพราะผู้ป่วยส่วนหนึ่ง มีอาการข้ออักเสบ เพียงครั้งเดียวในชีวิต และไม่เป็นอีก และพบว่าการเริ่มกินยาลดกรดยูริคในขณะที่ข้ออักเสบ จะทำให้ข้ออักเสบหายช้าลง
  • ในผู้ป่วยที่กินยาลดกรดยูริคอยู่ อาจพบว่ามีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องหยุดยา เพียงแต่รักษาข้ออักเสบตามข้างต้น และเมื่อกินยาต่อไปเรื่อย ๆ จะพบว่า ข้ออักเสบจะเป็นห่างขึ้น เป็นน้อยลง หายเร็วขึ้น จนกระทั่งไม่มีอาการข้ออักเสบอีกเลย
  • หลังจากกินยาไปแล้ว 3-5 ปี อาจลองพิจารณาหยุดยาได้ ในผู้ป่วยที่อายุมาก เนื่องจากยูริคที่เริ่มสูงขึ้นหลังจากหยุดยา กว่าจะเริ่มสะสมจนเกิดข้ออักเสบนั้น กินเวลา หลายสิบปี จนอาจไม่เกิดอาการอีกเลยตลอดชีวิต

อาหารกับโรคเก๊าท์ ? / เป็นเก๊าท์ ห้ามกินสัตว์ปีก ?

ไม่ห้ามครับ เพราะเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น ยูริคที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง อาหารเป็นส่วนประกอบน้อยมาก ต่อระดับยูริคในเลือด มีการทดลองให้อาสาสมัคร กินอาหารที่มีพิวรีนสูง ทั้ง 3 มื้อ เช่น สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ไข่ปลา เป็นต้น เป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบว่าระดับยูริคในเลือดสูงขึ้นเพียง 1 มก./ดล. ดังนั้นคนธรรมดาที่ไม่ได้กินแต่อาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างเดียว จึงแทบไม่มีผลต่อระดับยูริคในเลือดเลย นอกจากนี้ ผู้ป่วยเก๊าท์มักเป็นชายวัยกลางคนหรือสูงอายุ ซึ่งอาจมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องจำกัดหรืองดอาหารบางประเภทอยู่แล้ว การบอกให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารพิวรีนสูงเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยลำบากในการเลือกกินอาหารยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยเก๊าท์ที่กินยาลดยูริคอยู่แล้ว ยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องเลี่ยงอาหารใด ๆ อีกจะเห็นได้ว่า โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่มีหลายคน ยังเข้าใจผิดถึงโรคและการปฏิบัติตัว ทำให้เกิดความลำบากในการรักษา และสร้างความทุกข์กับผู้ป่วยด้วย บทความนี้คงทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ และยิ่งถ้าผู้ป่วยได้อ่านจะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองยิ่งขึ้น

มะรุมกับการรักษาโรคเก๊าท์

                        โรคเก๊าท์เป็นโรคที่ทรมาน ผู้ติดตามคุณย่าของคุณวิไลวรรณ อนุสารสุนทร เสียชีวิตด้วยโรคเก๊าท์  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่หลายคนวิตก  โดยเฉพาะในอเมริกามีคนเป็นโรคนี้กันมาก  วันหนึ่งคนที่เช่าบ้านของผู้เขียนเป็นชาว TRINIDAD ชื่อ CLEO LEWIS เกิดมีอาการปวดบวมด้วยโรคเก๊าท์จนเดินไม่ได้  และทรมานมากจนแทบทนไม่ไหว  ขณะนั้นเป็นเวลาดึกมากแล้ว  ประกอบกับเธอไม่มีประกันสุขภาพ  ผู้เขียนจึง ตัดสินใจใช้น้ำมันมะรุมทาให้ในคืนนั้น  และให้รับประทานมะรุมแคปซูล 4 เม็ด 3 เวลาและก่อนนอน ปรากฏว่าโรคเก๊าท์หายไปใน 3 วัน

 

 

 

 

 
 หน้าแรก สินค้าและราคา มะรุมแคปซูล น้ำมันมะรุม คำถามที่พบบ่อย  บทความ  รวมรูปภาพ
view